
คิดถึงหุ่นยนต์ VEX ต้องคิดถึง EDUSPEC
หุ่นยนต์การเรียนรู้สำหรับทุกๆคน
หุ่นยนต์ VEX คือ หุ่นยนต์สำหรับการเรียนรู้ที่ทุกคนสามารถเรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในโรงเรียนทั่วไป หรือ การเรียนเสริม หุ่นยนต์ VEX จะเป็นตัวช่วยสำหรับการเรียนรู้ในเรื่องของวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และ พื้นฐานวิศวกรรม รวมถึงการเสริมสร้างทักษะในด้านต่างๆ เช่น การฝึกความคิดสร้างสรรค์ การฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม ฝึกภาวะความเป็นผู้นำ การแก้่ไขปัญหา และ อื่นๆ เพื่อที่ผู้เรียนจะสามารถนำไปใช้สำหรับสถานการณ์ต่างๆในอนาคตได้
ประโยชน์ของหุ่นยนต์ VEX

เสริมสร้างความเข้าใจสิ่งต่างๆในชีวิตจริงได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการนำไปใช้บูรณาการการเรียนรู้วิชาสะเต็ม และ พัฒนาทักษะกระบวนการคิดเชิงคำนวณ

ทำให้การเรียนรู้การสร้างวงจรต่างๆ กลายเป็นเรื่องง่าย รวมถึงการเสริมสร้างความเข้าใจความสำคัญของการเรียนรู้จากความผิดพลาด และ การเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพการทำงานในอนาคต
หุ่นยนต์ VEX นี้เหมาะกับใคร?

ประถมศึกษา

มัธยมศึกษา

ผู้ที่ต้องการเรียน
การเขียนโปรแกรม
หรือ
เรียนสะเต็ม
หุ่นยนต์ VEX มีแบบไหนบ้าง?
เรียนเขียนโปรแกรมด้วย ROBOT C
ซอร์ฟแวร์ฟรีสำหรับการเรียนการเขียนโปรแกรม โดยเริ่มต้นด้วยการเขียนโปรแกรมด้วยการใช้บล็อคคำสั่ง หรือ ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ เหมาะสำหรับการเรียนเขียนโปรแกรมและเรียนรู้ทักษะสะเต็ม
ใช้ได้กับระบบ Windows เท่านั้น


เขียนโปรแกรมด้วยซอร์ฟแวร์ VEX CODE
ถ้าคุณไม่ต้องการลงโปรแกรมใดๆในคอมพิวเตอร์ของคุณ แต่คุณต้องการเรียนเขียนโปรแกรม เราขอแนะนำซอร์ฟแวร์ VEX code ซอร์ฟแวร์ฟรี สำหรับการเรียนที่ใช้เพียงเว็บบราวเซอร์ก็สามารถเรียนเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ได้ทันที
การแข่งขันหุ่นยนต์
VEX IQ
การแข่งขันหุ่นยนต์ VEX IQ จะแข่งขันกันในสนามขนาด 6 x 8 ฟุต รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ใช้หุ่นยนต์ 2 ตัว แข่งขันกันภายในระยะเวลา 60 วินาที เพื่อร่วมกันทำคะแนนตามปกติกาที่ได้กำหนดไว้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้ทักษะการเขียนโปรแกรมร่วมกับการใช้ทักษะการขับเคลื่อนหุ่นยนต์ผสมผสานเพื่อผ่านภารกิจต่างๆ
ก ารแข่งขันหุ่นยนต์ VEX V5
การแข่งขันหุ่นยนต์ VEX V5 จะแข่งขันในสนามที่มีขนาด 12 x 12 ฟุต รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทั้งสองทีมจะต้องแข่งขันกันภายในระยะเวลาทั้งหมด 2 นาที โดยใช้ทักษะการเขียนโปรแกรม และ ทักษะการขับเคลื่อนหุ่นยนต์ ในการปฏบัติภารกิจต่างๆ และ ทำคะแนนให้กับทีมของตนเอง
เริ่มสร้างหุ่นยนต์กันเลย !
![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
---|---|---|---|---|---|
![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
